โครงสร้างบ้านป้องกันแผ่นดินไหว แตกต่างจากบ้านทั่วไปอย่างไร

โครงสร้าง บ้านป้องกันแผ่นดินไหว

บ้านป้องกันแผ่นดินไหวถือเป็นทางเลือกที่หลายคนคำนึงถึงมากในช่วงเวลานี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้ประเทศไทยมักมีเพียงจังหวัดทางภาคเหนือที่อยู่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือจังหวัดอื่นที่อยู่ใกล้กลุ่มรอยเลื่อน 16 จุดเท่านั้น ที่เคยเจอประสบการณ์การแผ่นดินไหวในไทย แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ในจังหวัดอื่นโดยเฉพาะบริเวณใจกลางเมืองอย่างกรุงเทพฯ ไม่เคยได้รับผลกระทบถึงแรงสั่นสะเทือนมาก่อน จนเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ประเทศเมียนมาร์ หลายคนจึงเริ่มศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และหันมาใส่ใจความสำคัญด้านความปลอดภัยในที่อยู่อาศัยมากขึ้น วันนี้พาลาซโซ่ ไอเอจึงนำข้อมูลเรื่องบ้านที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเพื่อป้องกันแผ่นดินไหวมาบอกต่อทุกคน

ทำความรู้จักลักษณะบ้านป้องกันแผ่นดินไหวของประเทศญี่ปุ่น

หลายสื่อเริ่มถอดบทเรียนเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว หนึ่งในนั้นมีประเด็นบ้านป้องกันแผ่นดินไหวของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นประเทศที่มีการรับมือได้ดีและเป็นต้นแบบที่ดีให้กับเราได้ด้วย เพราะหัวใจสำคัญของนวัตกรรมการสร้างบ้านและตึกสูงแบบญี่ปุ่นคือ ‘ความยืดหยุ่น’ จึงเน้นเลือกใช้วัสดุและเทคนิคที่ช่วยให้อาคารสามารถดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้ดี 

ตัวอย่างวัสดุที่ใช้ เช่น เหล็กและไม้ที่มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อให้ตัวบ้านหรืออาคารโยกตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหวโดยไม่แตกหัก โครงสร้างจึงเคลื่อนไหวได้ดี ไม่โค้งงอหรือเปลี่ยนรูป และไม่แตกหักหรือพังทลายลงมา โดยเราสรุปหลักการมาให้ดังนี้

  • ฐานรากลอย (Base Isolation Systems) : ระบบนี้จะใช้แผ่นยางหรือลูกปืนติดตั้งระหว่างฐานรากและตัวอาคาร เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านจากพื้นดิน โดยโครงสร้างบ้านและอาคารจะแยกตัวกับพื้นดิน ทั้งนี้การติดตั้งอุปกรณ์ที่สำคัญ เช่น แผ่นยางพิเศษ (elastomeric bearings) หรือลูกกลิ้ง (sliding systems) เมื่อเกิดแผ่นดินไหวลูกกลิ้งจะเคลื่อนตัวไปมา ทำให้ตัวอาคารจะเคลื่อนที่น้อยลงหรือไม่เคลื่อนที่ตามพื้นดินนั่นเอง
ฐานราก บ้านป้องกันแผ่นดินไหว
  • โครงสร้างเสริมแรง (Reinforced Structures) : เป็นการใช้คอนกรีตเสริมเหล็กและเหล็กเส้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้กับบ้านและตัวอาคาร ซึ่งจะผสมผสานวัสดุสองชนิดที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ทำให้รับแรงได้หลากหลายทิศทาง เช่น คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete) ที่ผสมผสานระหว่างคอนกรีตและเหล็กเส้น และคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) วัสดุที่มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรงมาก ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างเก่าหรือโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแรงแบบพิเศษ
คอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านป้องกันแผ่นดินไหว

  • เทคโนโลยีลดแรงสั่นสะเทือน (Damping Systems) : เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อลดการสั่นสะเทือนในโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง เมื่อเกิดแผ่นดินไหวก็จะดูดซับและกระจายพลังงานของการสั่นสะเทือน โดยมีอุปกรณ์ติดตั้งอย่าง ‘แดมเปอร์’ (dampers) ที่มีรูปแบบการทำงานโดยเปลี่ยนพลังงานกลจากแรงสั่นสะเทือนให้เป็นพลังงานความร้อน

4 จุดเด่นการสร้างบ้านที่ออกแบบมาเพื่อรับแรงสั่นสะเทือนแบบพิเศษ

1. ฐานรากที่แข็งแรง : การสร้างฐานรากของบ้านป้องกันแผ่นดินไหวจะต้องพิถีพิถันมากกว่าบ้านทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด แม้ประเทศไทยจะยังไม่ได้มีการใช้นวัตกรรมฐานรากลอยแบบญี่ปุ่น แต่การสร้างด้วยองค์ประกอบเหล่านี้ก็ช่วยเพิ่มความแข็งแรงได้ดี

  • ระบบฐานรากที่ซับซ้อนและแข็งแรงกว่า : บ้านทั่วไปมักใช้ฐานรากแบบตื้น (Shallow Foundation) เช่น ฐานแผ่ หรือฐานรากแบบแพ ซึ่งเพียงพอสำหรับอาคารขนาดเล็กถึงกลาง แต่บ้านที่ใช้ระบบฐานรากลึก (Deep Foundation) เช่น เสาเข็มเจาะ ที่หยั่งลึกลงไปถึงชั้นดินที่มีความแข็งแรงมากพอจะรองรับน้ำหนักของโครงสร้างขนาดใหญ่ได้อย่างมั่นคง
  • การวิเคราะห์ดินอย่างละเอียด :  บ้านที่เน้นศึกษาสภาพดินอย่างละเอียดก่อนการก่อสร้าง จะผ่านการทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดิน การตรวจสอบระดับน้ำใต้ดิน และการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านธรณีวิทยาที่อาจเกิดขึ้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ออกแบบฐานรากที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสภาพพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งแตกต่างจากบ้านทั่วไปที่อาจใช้รูปแบบฐานรากมาตรฐานตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง

2. โครงสร้างหลักที่เหนือชั้น เสา คาน และพื้น : บ้านป้องกันแผ่นดินไหวจะออกแบบให้เสามีขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่าบ้านทั่วไป โดยเสาจะต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร และมีการเสริมเหล็กปลอกที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความเหนียวและต้านทานแรงดัดงอจากแผ่นดินไหว นอกจากนี้ คานจะต้องเชื่อมต่อกับเสาอย่างแข็งแรงด้วยการงอฉากของเหล็กปลอกที่ปลายคาน เพื่อป้องกันการแยกตัวเมื่อเกิดแรงสั่นสะเทือน ออกแบบให้รองรับการใช้งานที่หลากหลายและการต่อเติมในอนาคต ได้แก่

  • การออกแบบรับแรงแบบพิเศษ : บ้านที่มีการออกแบบโครงสร้างที่รับแรงได้มากกว่ามาตรฐานทั่วไป 30-50% จะรองรับการติดตั้งวัสดุตกแต่งที่มีน้ำหนักมาก เช่น กระเบื้องหินอ่อน ผนังหิน หรือเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ อีกทั้งยังคำนึงถึงการสั่นสะเทือนที่อาจเกิดจากอุปกรณ์หรือระบบต่าง ๆ ภายในบ้าน
  • ช่วงห่างของโครงสร้างที่มากกว่า : มักมีการออกแบบโครงสร้างที่สามารถเปิดพื้นที่กว้างได้มากกว่า โดยมีเสาน้อยลงหรือมีระยะห่างระหว่างเสาที่มากขึ้น (Long Span Structures) เพื่อสร้างพื้นที่ใช้สอยที่โล่งกว้าง ยืดหยุ่นในการจัดพื้นที่ และสร้างมุมมองที่เปิดโล่ง ซึ่งต้องอาศัยการออกแบบคานและพื้นที่ซับซ้อนกว่าบ้านทั่วไป
  • การใช้โครงสร้างเหล็กร่วมกับคอนกรีตเสริมเหล็กปลอก : บ้านที่เน้นความแข็งแรงจะต้องมีการผสมผสานโครงสร้างเหล็กร่วมกับคอนกรีต (Composite Structures) ในบางส่วน หรือเหล็กเสริมคอนกรีต เพื่อรองรับแรงสั่นสะเทือน ทำให้สามารถสร้างรูปทรงที่ซับซ้อน สวยงาม และยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งส่วนนี้สอดคล้องกับหลักการออกแบบของประเทศญี่ปุ่นและป้องกันแผ่นดินไหวแบบไทย คือการใช้เหล็กปลอกที่ใช้ในเสาและคานต้องมีการดัดงอปลายที่มุม 135 องศาและฝังเข้าไปในคอนกรีต เพื่อยึดเหล็กปลอกให้แน่นหนาและป้องกันการหลุดออกจากโครงสร้าง

3. การป้องกันภัยธรรมชาติขั้นสูง : ออกแบบเพื่อความยั่งยืนจึงสามารถต้านทานภัยธรรมชาติได้มากกว่าบ้านทั่วไป

  • ระบบต้านแรงลมและแผ่นดินไหว : โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ ตัวบ้านจะต้องมีการเสริมโครงสร้างพิเศษเพื่อรับแรงลมในระดับพายุหรือแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว เช่น ระบบคานและเสาที่มีการเชื่อมต่อแบบพิเศษ การใช้ผนังรับแรงเฉือน (Shear Wall) หรือการใช้อุปกรณ์ลดแรงสั่นสะเทือน (Damper) ซึ่งต้องการการออกแบบและก่อสร้างที่ซับซ้อนกว่า
ผนังรับแรงเฉือน

4. การจัดวางโครงสร้างให้สมมาตรและกระจายแรง : โครงสร้างบ้านป้องกันแผ่นดินไหวจะวางตำแหน่งเสาให้สมมาตรทั้งในแนวยาวและแนวกว้าง เพื่อให้แรงสั่นสะเทือนกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ไม่กระจุกตัวในจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเสียหายจากแรงเฉือน

พาลาซโซ่ ไอเอ สร้างบ้านด้วยมาตรฐานความปลอดภัยและสวยงาม

พาลาซโซ่ ไอเอ เรามุ่งมั่นสร้างบ้านหรูและคฤหาสน์ที่ไม่เพียงแต่สวยงามแต่ยังมาพร้อมมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด โดยให้ความสำคัญกับโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทาน โดยเรามีการรับประกันงานโครงสร้างบ้านสูงสุด 20 ปี ตามเงื่อนไขที่ทางบริษัทฯ กำหนด เพื่อให้ลูกค้าได้รับทั้งความคุ้มค่าและประสิทธิภาพการใช้งานที่ยาวนาน ตอบโจทย์การลงทุนสร้างบ้านที่จะอยู่กับคุณและครอบครัวไปตลอดชีวิต 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดีไซน์แบบบ้านหรูหรือต้องการปรึกษาแนวทางการสร้างบ้านทุกรูปแบบสามารถนัดหมายเพื่อปรึกษาเกี่ยวกับบ้านที่ตรงใจได้มาตรฐานได้ที่เบอร์ 063-303-6611 (ฝ่ายขาย) หรือเบอร์ 063-409-4333 (ฝ่ายการตลาด)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ไทยรัฐ ออนไลน์ : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2850050

จันทร์ – ศุกร์: 09.00 น.- 18.30 น.
เสาร์-อาทิตย์ : ปิด

Sale (Thai) : +66(0)63-303-6611
Marketing (Thai) : +66(0)63-409-4333
Office: +66(0)21571894-5 Ext. 14
Email: marketing@palazzoia.com

15/111 ถ.วิภาวดีรังสิต ตลาดบางเขน หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210